
challenge
เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด19 ร้านอาหารจำเป็นต้องเปลี่ยนมาเป็นแบบเดลิเวอรี และเนื่องจาก ZURU คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จึงเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกเป็นกระดาษมาหนึ่งปีแล้ว แต่ต่อมา ZURU ต้องการใช้ชามแค่หนึ่งหรือสองขนาดสำหรับทุกเมนูด้วย แทนที่จะใช้ถาดและชามพลาสติกสารพัดขนาดสำหรับซูชิและชามข้าว ปัญหาคือจะเอาซูชิใส่ลงในชามกลมๆ ได้อย่างไร หลังจากผู้บริโภคร้องเรียนว่าซูชิเละเทะไปหมดระหว่างการจัดส่ง ทำให้เกิดประสบการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจและความรู้สึกในแง่ลบต่อแบรนด์

approach
ZURU เกือบล้มเลิกความคิดที่จะใช้ชามแค่หนึ่งหรือสองขนาดแล้วกลับไปใช้ถาดเหมือนเดิม แต่ก่อนที่จะไปถึงเรื่องดีไซน์ VNT รับฟังปัญหาของพวกเขาอย่างใกล้ชิดและพยายามหาทางออกที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด เพราะทราบว่าบรรดาร้านอาหารต้องขาดทุนช่วงโควิด19 จนในที่สุดก็พบทางออกที่จะแก้ปัญหาเรื่องเดลิเวอรี โดยยังคงรักษาเป้าหมายของทางร้านในเรื่องบรรจุภัณฑ์
VNT ปรับแต่งชามกระดาษของทางร้านด้วยการเสริมแผ่นกั้น เช่นเดียวกับถาดไข่ แผ่นกั้นดังกล่าวมีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ และประกอบง่าย ซึ่งจะแบ่งพื้นที่ของชามออกเป็นช่องๆ สำหรับวางซูชิแต่ละชิ้นให้อยู่เป็นที่เป็นทาง

results
ด้วยหน้าตาที่เหมือนกล่องเบนโตะ ชามซูชิที่ดูมีลูกเล่น ใช้งานได้จริง และราคาประหยัด ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นต่อผู้บริโภคและช่วยลดค่าใช้จ่ายของ ZURU